ปากนกกระจอก สัญญาณบ่งบอกของการติดเชื้อ

ปากนกกระจอก สัญญาณบ่งบอกของการติดเชื้อ

โรคปากนกกระจอกจะสามารถเกิดขึ้นได้กับคนในทุกช่วงวัยและทุกเพศ โดยจะเกิดที่บริเวณของริมฝีปากทั้งสองข้าง เป็นอาการอักเสบและเกิดเป็นแผล สร้างความรู้สึกเจ็บและความรู้สึกรำคาญได้มากพอสมควร พร้อมทำให้การรับประทานอาหารเป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น โดยลุกลามได้ทั้งภายนอกและภายในปาก เกิดขึ้นได้จากทั้งการขาดวิตามินบางชนิดและการติดเชื้อ ซึ่งถ้าดูแลรักษาไม่ดีอาจลุกลามจนทำให้ผิวภายในของริมฝีปากเกิดปัญหาตามไปด้วย

โรคปากนกกระจอก คืออะไร?

โรคปากนกกระจอก หรือ Angular Cheilitis ถือเป็นหนึ่งในภาวะของผิวหนังช่วงบริเวณริมฝีปากเกิดการอักเสบ ติดเชื้อ  และไม่มีความชุ่มชื้น โดยจะแสดงผลออกมาจากบริเวณมุมปากข้างใดข้างหนึ่งหรืออาจจะเป็นได้ทั้งสองข้าง นอกจากนี้ยังกระจายตัวออกไปเป็นตามจุดต่าง ๆ ของริมฝีปากได้ อาการจะปรากฏเป็นทั้งรอยแดง รอยแตก และอาจจะเกิดเป็นแผลอักเสบเปื่อย มีเลือดออก รวมไปถึงเนื้อเยื่อในบริเวณปากจะออกเป็นขุยสีขาว เมื่ออ้าปากเพื่อจะรับประทานอาหารหรือพูดคุย จะทำให้รู้สึกเจ็บปวดเป็นอย่างมาก ถ้าการรักษาดีจะใช้เวลาภายใน 7-10 วัน จะสามารถหายเป็นปกติ

สาเหตุของการเกิดโรคปากนกกระจอก

การเกิดปัญหาโรคปากนกกระจอก จะสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุสำคัญที่มักจะมีการพูดถึงบ่อยครั้งมากที่สุด คือ การขาดวิตามินบี จึงพบได้มากในทั้งเด็กและผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดได้อีกหลายสาเหตุ คือ

  • การติดเชื้อราที่มีชื่อว่า Candida (แคนดิดา) โดยจะเป็นเชื้อในประเภทเดียวกันกับโรคผื่นในเด็กทารก
  • การมีบริเวณมุมปากตก จะทำให้มุมปากล่างห้อยลงมา จึงกลายเป็นแหล่งรวมน้ำลายและเพาะพันธุ์เชื้อราจนเกิดการติดเชื้อ
  • ผู้ที่ชอบเลียริมฝีปากบ่อยครั้ง เพราะปากแห้งหรือมีปัญหาเรื่องน้ำลายเกาะอยู่มุมปากเป็นจำนวนมาก จะทำให้เป็นปากนกกระจอกได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
  • มีอาการป่วยและเกิดการติดเชื้อร่วม เช่น เชื้อราภายในช่องปาก, เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสจากเริม เป็นต้น
  • ผิวริมฝีปากแห้ง แตก ลอก และไม่มีความชุ่มชื้น รวมไปถึงการติดเชื้อราแคนดิดาร่วมด้วย
  • ปัญหาจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น การติดเชื้อราจากปัญหาเบาหวาน, การใช้ยาปฏิชีวนะบางประเภท, การใส่ฟันปลอม ขนาดเล็กหรือใหญ่จนเกินไป, การจัดฟัน, เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารอักเสบ, มีปัญหาผิวแพ้ง่าย และขาดสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุบางชนิด เป็นต้น

การตรวจวินิจฉัยของแพทย์เพื่อดูว่าผู้ป่วยเกิดปัญหาปากนกกระจอกจากสาเหตุใด แพทย์จะมีการวินิจฉัยที่ค่อนข้างละเอียด โดยจะนำสะเก็ดแผลหรือเชื้อที่อยู่บริเวณปากของผู้ป่วยไปทำการตรวจสอบ รวมไปถึงการสอบถามเรื่องพฤติกรรมส่วนตัว, อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนหน้าเป็นโรคปากนกกระจอก รวมไปถึงอาการป่วยเรื้อรังที่เป็นอยู่ เพื่อการนำมาสู่การหาสาเหตุของโรคโดยตรงและให้การรักษาที่ถูกต้อง โดยจะเป็นการนำเชื้อทั้งบริเวณริมฝีปากและจมูกส่งตรวจห้องทดลอง เพื่อเป็นการตรวจหาเชื้อราแคนดิดา, เชื้อไวรัสโรคเริม หรือเชื้อสเตปฟิโลค็อกคัส ออเรียส เมื่อได้ผลทดสอบมาแล้วและรู้อย่างชัดเจน จะทำให้แพทย์รักษาและจ่ายยาได้ตรงตามอาการ จึงทำให้หายได้เร็วมากขึ้น

แนวทางการดูแลและรักษาโรคปากนกกระจอก

สำหรับผู้ที่เกิดปัญหาโรคปากนกกระจอกมาแล้ว ควรรู้วิธีการดูแลตัวเองและการรักษา เพื่อให้หายอย่างรวดเร็วและอาการไม่ลุกลามจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของตัวคุณเอง โดยมีวิธีการดูแลและการรักษาที่ถูกต้อง คือ

  • เมื่อรู้สึกปากแห้งหรือริมฝีปากเริ่มแตกลอก ควรใช้ลิปบาล์ม เจลขี้ผึ้ง หรือผลิตภัณฑ์เคลือบริมฝีปากที่ปลอดภัยทันที
  • ดูแลสุขภาพช่องปากให้มีความสะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคลุกลามไปสู่ส่วนอื่น ๆ ของริมฝีปากมากขึ้น
  • การสวมใส่ฟันปลอม ควรทำขนาดมาให้เหมาะสมและไม่ควรใส่ในขณะนอนหลับ
  • ผู้ที่จัดฟันควรมีผลิตภัณฑ์บำรุงริมฝีปากติดตัวอยู่เสมอ พร้อมการทำความสะอาดคราบน้ำลายที่อาจรวมอยู่บริเวณมุมปากบ่อยครั้ง
  • รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี โดยเฉพาะวิตามินบี 2 เพื่อทำให้สุขภาพดีมากขึ้น
  • เลี่ยงการเลียริมฝีปากและงดการทำให้ส่วนที่เกิดปัญหาเปียกชื้น ดังนั้นจึงควรใช้ผ้าหรือทิชชู่ซับน้ำลายอยู่ตลอด
  • การรักษาทางการแพทย์อาจมีการใช้ยาต้านเชื้อราร่วมด้วย เช่น ไมโคนาโซล, ไนสแตนดิน, โคลไตรมาโซล และคีโตโคนาโซล ที่จะเป็นตัวช่วยกำจัดเชื้อราแคนดิดาและเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ แต่ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสมและอยู่ในการดูแลของแพทย์เท่านั้น
  • รักษาด้วยยาประเภทต้านเชื้อแบคทีเรียอย่างมิวพิโรซินและกรดฟูซิดิก ที่เป็นตัวต้านเชื้อแบคทีเรียของโรคปากนกกระจอกโดยเฉพาะ
  • เลือกใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเพื่อการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ แบคทีเรีย และเชื้อราต่าง ๆ โดยใช้ในการล้างบริเวณแผลเท่านั้น
  • งดการสูบบุหรี่ เพราะทุกครั้งที่สูบบุหรี่ริมฝีปากจะแห้งแตกได้ง่ายกว่าคนทั่วไปที่ไม่สูบบุหรี่

ถ้าไม่อยากต้องเสี่ยงต่อการเป็นโรคปากนกกระจอก ควรทำตามคำแนะนำภายในบทความนี้และถ้าเกิดโรคแล้วกลายเป็นการลุกลามที่ทำให้อักเสบ เป็นแผลใหญ่ขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ดูดไขมันที่ไหนดีทันที เพื่อทำการรักษาอย่างเร่งด่วน