ทำอย่างไรดี? ประจำเดือนไม่มา 3 เดือน บทความนี้มีคำตอบ !

วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่เพศหญิงหลาย ๆ คนที่กำลังประสบปัญหางุนงงว่า “เพราะอะไรประจำเดือนไม่มา 3 เดือนแล้ว” และควรทำอย่างไรดี เพราะอาจไม่ได้มาจากการตั้งครรภ์ แล้วทำไมประจำเดือนถึงไม่มาติดต่อกันนานขนาดนี้ แล้วจะส่งผลเสียในระยะยาวหรือไม่ บทความนี้มีคำตอบสำหรับใครก็ตามที่กำลังสงสัยในเรื่องนี้อยู่

ทำความเข้าใจประจำเดือน คืออะไร

ประจำเดือนหรือ Mense คือ เยื่อบุโพรงมดลูกที่ไม่ได้รับการผสมแล้วเสื่อมสภาพลง พร้อมหลุดลอกออกมากับเลือดที่อยู่ในโพรงมดลูก โดยมากประจำเดือนจะเกิดขึ้นทุก 20-35 วัน หรือทุกเดือนนับตั้งแต่วันแรกที่ประจำเดือนมา ซึ่งประจำเดือนนั้น นับว่าเป็นหนึ่งในกลไกของเพศหญิงวัยเจริญพันธุ์ (มีไข่ตก) โดยปกติเพศหญิงจะเริ่มมีประจำเดือนตั้งแต่อายุ 12 ปี  ภาวะแทรกซ้อนจากประจำเดือนมาจะรู้สึกคัดหน้าอก, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ รวมถึงอาการปวดท้องบริเวณท้องน้อย (มดลูก)  บางรายอาจถึงขั้นปวดท้องน้อยหนักจนแทบอาเจียน จึงส่งผลต่ออารมณ์หรือสภาพจิตใจได้เลย

ประจำเดือนขาด คืออะไร

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าระหว่างประจำเดือนขาดกับประจำเดือนมาช้านั้น จะแตกต่างกัน ดังนี้

  • ประจำเดือนมาช้า หมายถึง ประจำเดือนที่ขาดไป 1-2 เดือน แต่ไม่ถึง 3 เดือน แบบนี้เรียกประจำเดือนมาช้า
  • ประจำเดือนขาด จะแตกต่างจากประจำเดือนมาช้า คือ ประจำเดือนไม่มา 3 เดือนขึ้นไป นับตั้งแต่วันที่ประจำเดือนมาครั้งล่าสุด

ดังนั้นหากเจาะลึกลงอีก ประจำเดือนขาดหรือประจำเดือนไม่มา 3 เดือนนั้น ถูกแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

  • ภาวะประจำเดือนขาดปฐมภูมิ – ปกติผู้หญิงจะเริ่มมีประจำเดือนเมื่อเข้าสู่อายุ 12 ปี แต่สำหรับการขาดประจำเดือน ประเภทปฐมภูมิ หมายถึงผู้หญิงอายุ 18 ปีขึ้นไป แล้วประจำเดือนครั้งแรกยังไม่มา
  • ภาวะประจำเดือนขาดทุติยภูมิ – ผู้หญิงที่เคยมีประจำเดือนมาปกติ แต่อยู่ดี ๆ ประจำเดือนขาดไม่มาตั้งแต่ 3 – 6 เดือน

สำหรับผู้หญิงที่ประจำเดือนไม่มา 3 เดือน จนครบ 6 เดือนเต็มนับตั้งแต่ครั้งล่าสุด ลักษณะนี้จะเรียกภาวะขาดประจำเดือนทุติยภูมิทันที

สาเหตุประจำเดือนไม่มา3เดือน ?

  • วัยทองในเพศหญิงจะทำให้รังไข่หยุดทำงาน เกิดขึ้นในช่วงอายุ 40 – 60 ปี เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดต่ำเรื่อย ๆ เมื่ออายุเข้าเกณฑ์ที่กำหนด
  • การตั้งครรภ์ ไข่จะได้รับการผสมจนส่งผลทำให้เกิดการผสมกันในรังไข่และเกิดตัวอ่อน ประจำเดือนจึงไม่เกิดขึ้นนั่นเอง
  • เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนหลัก เช่น ระดับของฮอร์โมนอีสโตรเจนอยู่ในระดับต่ำ ก็สามารถส่งผลทำให้ประจำเดือนมาช้ากว่ากำหนดหรือมาขาดได้ (บางรายอาจมีฮอร์โมนเพศชายสูงกว่าเพศหญิง)
  • การออกกำลังกายมากเกินไป จะทำให้ระดับไขมันในร่างกายเพศหญิงต่ำ เพราะระดับไขมันที่เหมาะสมกับร่างกาย คือ ร้อยละ 22 หากไขมันในเพศหญิงน้อยก็จะส่งผลทำให้ประเดือนไม่มา 3 เดือนได้เช่นกัน
  • เกิดจากปัจจัยโรคอื่น ๆ เช่น โรคเกี่ยวกับมดลูก, ความผิดปกติเกี่ยวกับรังไข่ รวมถึงเนื้องอกในสมอง ก็สามารถส่งผลต่อฮอร์โมนและทำให้ประจำเดือนขาดได้เช่นกัน

ประจำเดือนไม่มา 3 เดือน อันตรายหรือไม่

สำหรับผู้ที่ต้องเผชิญปัญหาประจำเดือนไม่มา 3 เดือน ควรรีบปรึกษาแพทย์และดูแลสุขภาพให้ดี เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพที่นำพาโรคร้ายต่าง ๆ ตามมา คือ

1.โรคเกี่ยวกับกระดูก

หากขาดประจำเดือนเป็นเวลานานโดยไม่ทำการรักษา อาจส่งผลทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับกระดูกได้ เช่น กระดูกพรุน อันมีสาเหตุมาจากภาวะฮอร์โมนเอสโตรเจน ตัวการในการกระตุ้นประจำเดือนอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งภายในฮอร์โมนเอสโตรเจนมีประโยชน์แก่ร่างกายอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นระบบขับถ่าย, ระบบทางเดินอาหาร หรือแม้กระทั่งช่วยในการเสริมสร้างมวลกระดูกอีกด้วย

2.ส่งผลต่อการมีลูก

หากประจำเดือนไม่มา 3 เดือน แล้วปล่อยปะละเลย ไม่ทำการรักษาหรือพยายามหาสาเหตุ ข่าวร้าย คือ คุณอาจจะมีลูกยากมากขึ้น เนื่องจากร่างกายไม่สามารถหลั่งฮอร์โมนที่จำเป็นแก่ร่างกายออกมาได้ ย่อมต้องส่งผลต่อการทำงานของมดลูกและรังไข่อย่างมาก

3.มะเร็งปากมดลูก

ประจำเดือนขาดเป็นเวลานานจะทำให้เยื่อบุภายในโพรงมดลูกจับตัวหนาขึ้นเรื่อย ๆ และอาจส่งผลทำให้มีเลือดออกจากช่องคลอดแบบไม่ทราบสาเหตุ จนนำไปสู่โรคมะเร็งปากมดลูกในที่สุด

วิธีรักษาอาการประจำเดือนขาด

  • ผ่อนคลายรักษาสุขภาพจิต รวมถึงร่างกาย ลดความเครียดที่ส่งผลต่อสมอง รวมถึงรักษาระดับฮอร์โมนได้อย่างมีนัยยะสำคัญ
  • การดูแลร่างกายและหมั่นสังเกตอาการอยู่ตลอดเวลา หากมีอาการผิดปกติจะได้รักษาทันท่วงที
  • คุมน้ำหนักและคุมอาหาร รักษาน้ำหนักให้อยู่บนเกณฑ์มาตรฐานเสมอ
  • ห้ามอ้วนหรือผอมเกินไป เพราะไขมันถือว่ามีส่วนสำคัญในกระบวนการทำงานภายในร่างกายผู้หญิง
  • โดยเฉพาะกระบวนการทำงานของประจำเดือน รวมถึงอาหารควรเลือกทานที่มีประโยชน์ เน้นธาตุเหล็กและแคลเซียม

อาการประจำเดือนไม่มา 3 เดือนในระยะแรก จะไม่ส่งผลเสียต่อร่างกายมากนักถ้ารักษาได้ทันเวลา โดยวิธีการรักษายังสามารถทำได้ด้วยตัวเอง นั่นคือการปรับพฤติกรรมและอีกหนึ่งความสำคัญ คือ การหมั่นสังเกตประจำเดือนของคุณเป็นประจำ หากพบปัญหาอย่าปล่อยเรื้อรังเด็ดขาด